,

โครงการศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน


วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเหมาะสมกับเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการ SMEs เกษตร และสถาบันเกษตรกร ที่ทำการเกษตรในกลุ่มพืช/สัตว์เศรษฐกิจ และพืชที่มีโอกาสเติบโต ทางธุรกิจ
  2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรทั้งในประเทศและ ต่างประเทศมาใช้รวมถึง ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด และแนวทางในการสนับสนุนและขยายผลให้เกษตรกร นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรไปใช้
  3. เพื่อศึกษาความคุ้มค่าในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าให้กับเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการ SMEs เกษตร และ สถาบันเกษตรกร ที่ทำการเกษตรในกลุ่มพืช/สัตว์เศรษฐกิจหลัก และพืชที่มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจ
  4. เพื่อศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์สินเชื่อ และแนวทางการสนับสนุนสินเชื่อเทคโนโลยีและ นวัตกรรมการเกษตรที่เหมาะสมของ ธ.ก.ส. สำหรับกลุ่มเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการ SMEs เกษตร และ สถาบันเกษตรกร ที่ทำการเกษตรในกลุ่มพืช/สัตว์เศรษฐกิจหลักและพืชที่มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจ
  5. เพื่อศึกษาผลกระทบจากการทำข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่มีผลต่อการทำการเกษตร ในกลุ่มพืช/สัตว์ เศรษฐกิจ และพืชที่มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจของประเทศไทย 
  6. เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของธนาคารเพื่อส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการ SMEs เกษตร และสถาบันเกษตรกร การดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคีภาครัฐและ แนวทางในการปรับเปลี่ยนอาชีพของเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการทำข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ 
  7. เพื่อนำเสนอแผนกลยุทธ์และแผนธุรกิจ (Action Plan) ของธนาคารเพื่อให้สามารถบริการ ทางการเงิน และยกระดับประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างครบวงจร ตลอดห่วงโซ่ อุปทาน (Supply Chain) และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ให้กับเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการ SMEs เกษตร และสถาบันเกษตรกร ที่ทำการเกษตรในกลุ่มพืช/สัตว์เศรษฐกิจหลัก รวมถึงพืชที่มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจ

 

หน่วยงานว่าจ้าง

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 

ระยะเวลา
20 กค. 2564 – 17 พย. 2564